1. ปวดหัวกับเรื่องบัญชีภาษี
2. ทำงานเกือบ 24 ชม.
3. เห็นภาพธุรกิจไม่ชัดวางแผนไม่ได้
4. ยอดขายเยอะ แต่เงินสดสะดุด
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีภาษีมากว่า 20 ปี ให้บริการลูกค้าตั้งแต่ธุรกิจ SME Startup ไปจนธุรกิจระดับพันล้าน เราให้ความสำคัญกับการดูแลบัญชีภาษีลูกค้าเพื่อให้เห็นเจ้าของ กิจการภาพในการดำเนินธุรกิจมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ มีเวลาโฟกัสธุรกิสมากขึ้นเพื่อมีทีมที่ปรึกษา เป็นผู้เชี่ยวชาญทาง ด้านธุรกิจในแต่ละประเภทมีผู้ช่วยคอยแจ้งเตือนการยื่นแบบ และรายงานผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสะดวกแม่นยำ รับรองมาตรฐานโดย CPD TA CPA เพื่อให้ธุรกิจของ คุณเติบโตอย่างยั่งยืน
1. รวบรวมเอกสาร
“งบการเงิน” คือรายงานทางบัญชี ที่เกี่ยวกับการเงินของการประกอบกิจการ เพื่อให้ทราบถึงสถานะทางการเงินของนิติบุคคล และทำให้ทราบทิศทางการบริหารงาน ฐานะทางการเงินของบัญชีภายในธุรกิจ
“การปิดงบการเงิน ” คือ การจัดการทางบัญชีของ บริษัท ห้างหุ้นส่วน สำหรับการประกอบกิจการ เมื่อถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการปิดงบการเงิน เพื่อจัดส่งรายละเอียดการปิดงบการเงินให้กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกอบการหลายท่านที่ไม่ทราบว่าทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนมาแล้ว แต่ไม่รู้ต้องทำอย่างไรต่อ อาจจะเจอปัญหาว่ามีค่าปรับตามามาได้ เพราะหากไม่ดำเนินการตามนี้ก็จะถือว่าฝ่าฝืนต่อกฎหมาย สำหรับช่วงนี้ก็เข้าสู่ระยะเวลาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เตรียมตัวและเตรียมเอกสารด้านบัญชีและภาษี เพื่อทำการปิดงบการเงินแล้ว ถ้าตอนนี้ในการทำบัญชีปิดงบการเงินเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับหน้าที่ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนกันค่ะ
1. ต้องจัดให้มี “ผู้ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามพรบ.บัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทละ 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของ
นิติบุคคล ทั้งนี้อาจเป็นพนักงานของนิติบุคคล ผู้รับทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำบัญชีก็ได้
2. จัดทำบัญชีตามที่กฏหมายกำหนด โดยนับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ซึ่งชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำได้แก่
✅บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย
✅บัญชีรายวันทั่วไป
✅บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
✅บัญชีสินค้า สต๊อกสินค้า
✅บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
3. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี ให้แก่ “ผู้ทำบัญชี” ให้ครบถ้วนถูกต้อง
4. จัดให้มีการปิดบัญชี ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
5. จัดทำงบการเงิน อย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินต้องมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน (สำหรับห้างหุ้นส่วนต้องจัดทำงบการเงินยื่นภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี) ทั้งนี้รวมถึง บริษัท และห้างหุ้นส่วนที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
7. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (เฉพาะกรณีบริษัทจำกัด) ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
8. ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) ภายหลัง 6 เดือนนับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน
9. ต้องจัดทำใบหุ้น (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
10. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
11. การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชี ในกรณีที่ บริษัท จำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้น/ผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์จะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่ี่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้มากเท่านั้น เพราะการระยะเวลาการเปิดบริษัทนั้นสามารถบ่งบอกถึงความชำนาญการในสายอาชีพนั้นๆแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของคุณได้รับโอกาสที่มากขึ้น
เมื่อจดบริษัทแล้ว จะมีข้อกำหนดหรือกฎหมายต่างๆ ทั้งการ ทำบัญชี และการส่งภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น จึงต้องการความละเอียดมากกว่ารูปแบบธุรกิจเจ้าของคนเดียว
และนอกจากทำบัญชีรายการต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างปีแล้ว ยังต้องมีการจัดทำงบการเงิน ตรวจสอบบัญชีและออกรายงานลงชื่อรับรองโดยผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาตเป็นประจำทุกปี
เจ้าของกิจการหลายๆ คนอาจสงสัยว่า เมื่อจดบริษัทเสร็จจำเป็นต้องจ้างคนทำบัญชีไหม ❓
แท้ที่จริงแล้ว“การทำบัญชี” โดยมี 2 วิธีคือ ทำเอง หรือ จ้างสำนักงานบัญชี
ดังนั้นหลังจดบริษัท “สามารถทำบัญชีเองได้” ทั้งนี้ บริษัทจะต้องมี ผู้ทำบัญชีของกิจการ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และปลายปียังคงต้อง “จ้างผู้สอบบัญชี”
ที่เป็นอิสระจากกิจการเพื่อรับรองความถูกต้องของบัญชีที่จัดทำเป็นประจำทุกปีตามกฎหมายกำหนด
1. จัดทำบัญชี
2. ยื่นแบบประจำเดือน/ประจำปี
3. ให้คำปรึกษาด้านงานบัญชี
1. ลดการทุจริตภายในบริษัท เพราะมีคนช่วยตรวจสอบถึงรายการซื้อขาย และรายการอื่นๆในบริษัทให้ถูกต้อง
2. เตรียมความพร้อมกับการจัดการภาษีได้ทันท่วงที เพราะข้อมูลรายงานทางการเงินต่างๆ ที่ได้มาอย่างรวดเร็ว ทำให้ทางบริษัทรับมือกับภาษีได้
3. ลดต้นทุนในการจัดจ้างคนทำบัญชีภายในบริษัท
4. ให้คำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี
เจ้าของกิจการต้องรู้เกี่ยวกับเอกสารด้าน
✅ซื้อ ✅ขาย ✅จ่าย ✅รับ
บัญชี มีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องอาศัยเอกสารเข้ามาช่วยดำเนินการให้ธุรกิจให้เป็นระบบตรวจสอบได้ง่าย
“เอกสารทางธุรกิจ” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงและยืนยันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งมีรายการดังนี้
1. ใบเสนอราคา (Quotation)
2. ใบวางบิล (Billing Note)
3. ใบกำกับภาษี ( Invoice)
4. ใบเสร็จรับเงิน ( Receipt)
5. ใบลดหนี้ (Credit Note)
6. ใบสั่งซื้อ (Purchase order)
7. หนังสือรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding tax certificate)
เจ้าของกิจการที่เข้าสู่ระบบนิติบุคคล ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ล้วนจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารเหล่านี้
การทำความรู้จัก และทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้จัดทำบัญชีและภาษีได้อย่างถูกต้อง การมีคู่มือ และผู้ช่วยคอยให้คำปรึกษาในช่วงเริ่มต้น
ธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้คุณมีระบบเอกสาร ระบบบัญชีภาษีที่ดี
คำตอบคือ ได้ เพราะตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น บริษัทและเจ้าของเป็นคนละบุคคลกันตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อเจ้าของทำงานให้กับบริษัท บริษัทจึงควรจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของ
● เงินเดือนเจ้าของนี้มักเรียกกันว่า เงินเดือนกรรมการ หรือ ค่าตอบแทนกรรมการ
เมื่อบริษัทจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของ เงินเดือนกรรมการที่จ่ายไปนี้บริษัทสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงสูงสุดถึง 20% (ขึ้นกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท) และในขณะเดียวกัน เงินเดือนนี้ก็จะเป็นเงินได้ของเจ้าของ ซึ่ง
เจ้าของจะต้องนำไปรวมคำนวณในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงความเหมาะสมจะต้องพิจารณาถึงในเนื้องานและค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และหากมีการวางแผนภาษีที่ดี บริษัทสามารถจ่ายเงินเดือนในจำนวนที่ทำให้เจ้าของไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็เป็นได้
1. เอกสารรายได้ค่าใช้จ่ายตัวจริงของกิจการ เช่นบิลซื้อขาย แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จ เอกสารสัญญา หรือเอกสารเกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลไว้ที่บริษัท
2. ข้อมูลการบันทึกบัญชี: ข้อมูล ณ วันสุดท้ายก่อนเริ่มทำบัญชีกับสำนักงานบัญชีที่ใหม่ ดังนี้
– งบทดลอง (TB)
– สมุดรายวันแยกประเภท (GL)
– สมุดรายวันเฉพาะ (รายวันซื้อ ขาย จ่ายเงิน รับเงิน)
– ทะเบียนทรัพย์สินของบริษัท
– ทะเบียนลูกหนี้ เจ้าหนี้
– รายละเอียดประกอบยอดงบคงเหลือด้านสินทรัพย์และหนี้สิน
– งบการเงินปีล่าสุด
-ภ.ง.ด. 50 และ ภ.ง.ด. 51 ปีล่าสุด
– สำเนาแบบภาษี แบบประกันสังคม เดือนสุดท้ายของงบการเงินปีล่าสุด
– ขอรหัสผ่านเกี่ยวกับการยื่นแบบต่างๆ
– รหัสผ่าน DBD e-filling
– รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
– รหัสผ่านทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตกับประกันสังคม